วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตรวจสอบ Slide Show! ของฉัน!

ศิลปะคืออะไร






ศิลปะ ศาสนา ศิลปะ สังคม ศิลปะ หมายถึง ศิลปะ อุปกรณ์ ศิลปะ โรโกโก แสตมป์"

ศิลปะกรรมไทย ศิลปะกรรมไทย ศิลปะกับชีวิต ศิลปะกับธรรมชาติ ศิลปะกับธรรมชาติ
ศิลปะกับอนาจาร ศิลปะการทอผ้า+สมัยสุโขทัย ศิลปะการแสดง ศิลปะของไทย ศิลปะคันทรี
ศิลปะคือลมหายใจของชีวิต ศิลปะคือลมหายใจของชีวิต ศิลปะคืออะไร ศิลปะคืออะไร ศิลปะงานต่อผ้า
ศิลปะงานผ้าต่อ ศิลปะตะวันตก ศิลปะตะวันตก ศิลปะต่างประเทศ ศิลปะบ้านเชียง
ศิลปะประดิษฐ์ ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะพื้นบ้านภาคใต้ ศิลปะมีกี่ประเภท ศิลปะรวมสมัย
ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะลายไทย ศิลปะวัฒนธรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะวัฒนธรรมไทย ศิลปะวัฒนธรรมไทยภาคกลาง
ศิลปะสมัยกรีก ศิลปะสมัยกลาง ศิลปะสมัยคริสเตียน ศิลปะสมัยทราวดี ศิลปะสมัยทราวดี
ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ไทย ศิลปะสมัยประวัติศาสตร์ไทย ศิลปะสมัยลพบุรี
ศิลปะสมัยสุโขทัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ศิลปะสมัยเมโสโปเตเมีย ศิลปะสมัยโรมัน ศิลปะสมัยใหม่
ศิลปะสากล ศิลปะสำหรับเด็กหมายถึง ศิลปะสื่อผสม ศิลปะสื่อผสม ศิลปะหมายถึง
ศิลปะหมายถึง ศิลปะหมายถึงอะไร ศิลปะอยุธยา ศิลปะอยุธยา ศิลปะเมโสโปเตเมีย
ศิลปะและกาแสดงของไทย ศิลปะโรแมน%E ศิลปะโรแมนติก ศิลปะโรแมนติก ศิลปะโรโคโค
ศิลปะไทย ศิลปะไบเซนไทน์ ศิลปากร ศิลปิน ศิลปิน "

อนาจารคืออะไร ?
อนาจารหมายถึงการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ และก่อให้เกิดความอับอายในทางเพศ ซึ่งผิดไปจากประเพณีนิยมตามกาละเทศะ เช่น ฉุดแขนหญิง กอด จูบ จับต้องของสงวน ฉุดแขนหญิง เปิดกระโปรงของหญิง โดยที่หญิงไม่ยินยอมในที่สาธารณะ เป็นต้น
ความผิดฐานอนาจาร…มีโทษแค่ไหน ?

ประวัติดนตรีไทย


history
link
webmaster

เครื่องดีด
เครื่องสี
เครื่องตี
เครื่องเป่า



ประวัติดนตรีไทย



ดนตรีไทย ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ
ซึ่งดนตรีไทยได้มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะขอแบ่งยุคของดนตรีไทย เพื่อให้สะดวกต่อการศึกษา ดังนี้
1. สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
2. สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
3. สมัยกรุงศรีอยุธยา
4. สมัยกรุงรัตน์โกสินทร์
สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
จากประวัติศาสตร์ชนชาติไทยเดิมที่ได้อพยพมาจากแถบภูเขาอัลไต และอพยพเรื่อยมาจนถึงแหลมทองในปัจจุบัน และได้ปรากฏหลักฐานเป็นจดหมายของอาจารย์ที่เซี่ยงไฮ้
ซึ่งอาจารย์มนตรี ตราโมท กล่าวว่า ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 3 อ้างใน มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฏหน้า) ดังนี้ “ จดหมายของอาจารย์ผู้หนึ่ง ในโรงเรียนที่เซียงไฮ้ ซึ่งมีมาถึง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยเรา ลงในวันที่ 11 ตุลาคม 2484 กล่าวว่า เขาได้
ทำการศึกษาค้นคว้าตำนานดึกดำบรรพ์ของชาติไทยในดินแดนจีน ได้หลักฐานไว้หลายอย่าง
มีความในหนังสือฉบับนี้กล่าวว่า คนไทยมีอุปนิสัยทางศิลปะทางดนตรีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ”
จากข้อความในจดหมายที่ยกมา แสดงให้เห็นว่า ดนตรีไทยมีมาควบคู่กับคนไทย มาตั้งแต่โบราณก่อนการอพยพลงมาสู่แหลมทองในปัจจุบัน และยังมีเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับดนตรีไทย
ซึ่ง อาจารย์มนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นมาเกี่ยวกับดนตรีไทย
และเพลงไทยอีกว่า ( มนตรี ตราโมท. 2507 : ไม่ปรากฎหน้า) “ ในตอนกลางลุ่มแม่น้ำแยงซี
เป็นที่ตั้งของอาณาจักรฌ้อ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ โดยมากกล่าวรับรองว่า ฌ้อในสมัยนั้นคือ
ชนชาติไทย พระเจ้าฌ้อปาออง ซึ่งครองราชอยู่ระหว่าง พ . ศ. 310 ถึง 343 ว่าเป็นกษัตริย์ไทย
ในสมัยนั้นจีนได้เครื่องดนตรีไปจากชนชาติในดินแดนตอนใต้หลายอย่าง ที่ปรากฏชัดคือ
กลองชนิดหนึ่งซึ่งจีนใช้อยู่จนทุกวันนี้เรียกว่า “ น่านตังกู ” อันหมายถึง กลองชาวใต้
ลักษณะเป็นกลองขึงหนังตรึงด้วยหมุดทั้งสองหน้าอย่าง “ กลองทัด ” ของไทยเราไม่ผิดเพี้ยนเลย และรูปร่างก็แตกต่างจากกลองชนิดอื่นๆ ของจีน ซึ่งเข้าใจว่าอาจได้ไปจากกลองของชนชาติไทย ในสมัยครั้งกระโน้นก็เป็นได้”
หลักฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึง “ เครื่องดนตรีไทย” และเครื่องดนตรีที่เก่าแก่
ของไทยก็คือ “ แคน” โดยมีหลักฐานยืนยัน ซึ่งมีบันทึกของจีนได้บันทึกไว้ว่า ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 5)
“ ที่เมือง CHANGSHA แคว้นยูนาน เป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง
เขาได้พบศพ 2 ศพ ที่เกรียวกราวมาก คือ เป็นศพที่มีอายุตั้ง 2,000 ปี แล้วร่างกายอยู่อย่างเก่า
เอาอะไรกดเข้าไปก็ไม่เป็นอะไร แล้วเครื่องแต่งกายก็วิจิตรพิศดารมาก รัฐบาลของเขาให้ชื่อศพ
นี้ว่า “ The Duke of Tai and his Consart “ ในข้าง ๆ ศพ ปรากฏสิ่งของอยู่ 2 อย่างคือ
เครื่องใช้ประจำวันเป็นเครื่องเขิน เครื่องเขินที่คล้าย ๆ กับเชียงใหม่เรานี้ แล้วก็เป็นจำนวนนับร้อย แล้วอีกสิ่งหนึ่งก็เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ตรงกับของเราที่เรียกว่า แคน ในเรื่องที่เกี่ยวกับแคนนี้ สุมาลี นิมมานุภาพ ยังเล่าเพิ่มเติมพอสรุปได้ว่า
จากบันทึกของจีนที่บันทึกว่าจีนมีแคนใช้ประมาณ 3,000 ปี แต่จีนมีแคนใช้หลังไทย เพราะฉะนั้นแคนไทยต้องมีอายุมากกว่า 3,000 ปี ที่กล่าวว่าจีนมีแคนใช้หลังไทยเพราะถ้าใช้
หลังการเปรียบเทียบจะเห็นว่าแคนของจีนสวยงามประณีต กระทัดรัดกว่าของไทย เพราะจีน
ได้แบบอย่างและรูปแบบไปจากแคนไทย ซึ่งมีรูปร่างยาว ใช้วัสดุที่ไม่ทนทานเท่าแคนของจีน
ซึ่งเมื่อจีนเห็นข้อบกพร่องของแคนไทยแล้วจึงนำไปปรับปรุงให้กระทัดรัดและสวยงาม
จากแคนของไทย ได้พัฒนาเป็นเครื่องดนตรีอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ขลุ่ย และปี่ซอ เพราะขลุ่ยทำง่ายกว่าแคน เพียงแต่เจาะรูที่ไม้ไผ่ก็เป่าได้แล้ว อย่างเช่น ขลุ่ยผิวของจีน ส่วนปี่ซอก็คือลูกของแคนนั้นเองใช้ลิ้นโลหะประกอบกับไม้ไผ่เข้าแล้วเจาะรูเพื่อบังคับเสียง อย่างเช่น
ปี่ซอของทางภาคเหนือในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาจึงใช้ไม้ทำเครื่องบังคับลมเรียกว่า “ ดาก” เข้าไปในตัวของไม้ไผ่แล้วเจาะลิ้น ( ปากนกแก้ว) ทำให้เกิดเสียง เช่น ขลุ่ยชนิดต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 6 อ้างใน จารุวรรณ ไวยเจตน์. 2529 : 213)
สรุปได้ว่า ดนตรีไทย มีประวัติความเป็นมาควบคู่กับชนชาติไทย ก่อนที่จะอพยพมาสู่
ถิ่นแหลมทองในปัจจุบัน เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ค้นพบคือ กลองและแคน ต่อมาได้พัฒนาจากแคนเป็นปี่ซอและขลุ่ย ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่า เพราะทำได้ง่าย เพียงแต่เจาะรูแล้วทำเครื่องบังคับลมก็สามารถเป่าเป็นเสียงดนตรีได้แล้ว
เครื่องดนตรี ได้ 4 ประเภท คือ
1. เครื่องดีด ได้แก่ พิณ
2. เครื่องสี ได้แก่ ซออีสาน
3. เครื่องตี ได้แก่ โปงลาง กลองยาว เกราะ ฯลฯ
4. เครื่องเป่า ได้แก่ แคน หึน เป็นต้น
ดนตรีอีสาน ส่วนใหญ่แล้วการบรรเลงจะเป็นลักษณะแบบชาวบ้านไม่มีแบบแผนมากนัก ใช้ในการประกอบการแสดง ในงานรื่นเริง สนุกสนาน หรือ ใช้ในพิธีกรรมของชาวอีสาน


แนะนำเครื่องดนตรีอีสาน

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ดนตรี

โดยทั่วไป การฟังดนตรี เริ่มจากง่ายไปสู่การฟังที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งพอจะจัดเป็นลำดับดังนี้
1. ฟังเสียง (Sound) เสียงที่เกิดขึ้นทุกชนิดจัดอยู่ในกลุ่มนี้ หูจะเรียนรู้เสียงที่ได้ยินจะพอใจ ไม่พอใจ น่าฟัง หรือไม่น่าฟัง เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ เด็กแรกเกิดจะเรียนรู้เรื่องเสียงเด็กจะมีความสนใจต่อเสียงแปลกใหม่ เสียงสามารถสร้างความสนใจ และเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของเด็กได้ เสียงต่าง ๆ ไม่ถูกจัดระบบ เช่น เสียงรถยนต์ เสียงนกร้อง เสียงตีเกาะเคาะไม้ ลมพัด ฟ้าร้อง ฯลฯ หูเราจะทนฟังอยู่ได้ไม่นานก็เกิดความเบื่อหน่าย เพราะความไม่มีศิลปะ ดนตรีประกอบด้วยเสียงต่าง ๆ เหล่านี้แต่ถูกนำมาจัดระบบเป็นศิลปะ มีความไพเราะ
2. ฟังจังหวะ (Rhythm Time) จังหวะเป็นการเอาเสียงมาจัดระบบระเบียบให้สัมพันธ์ คล้องจองกัน ความแปลกหูทำให้น่าฟัง เช่น กลองยาว กรับ โหม่ง ฆ้อง มาเคาะ เป็นจังหวะ ความเร็ว ช้า ให้อารมณ์ความรู้สึกครึกครื้น อับเฉา ชุ่มฉ่ำ เป็นต้น
จังหวะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมาก โดยเฉพาะทางร่างกาย ความตื่นเต้นเร้าใจต่อจังหวะที่ได้ยิน “ฟังแล้วเนื้อเต้น” จังหวะมักถูกนำไปเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิต ความรู้สึก ปลุกวิญญาณ ความเป็นชาตินิยม ฯลฯ จังหวะมักจะเร่งเร้าให้ร่างกายแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งต่อจังหวะที่ได้ยิน จังหวะเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของธรรมชาติ ทุกอย่างมีจังหวะควบคุม การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล กลางวัน กลางคืน ความเป็น ความตาย เป็นธรรมชาติที่ประกอบขึ้นด้วยจังหวะ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สัดส่วนของอาหาร สถาปัตยกรรม ความสมดุลของสรรพสิ่ง ภาพวาด ท่าทางที่ร่ายรำ ลีลาของฉันทลักษณ์ แม้แต่ลีลาของชีวิต ล้วนเกี่ยวข้องกับจังหวะทั้งสิ้น
3. ฟังทำนอง (Melody) ทำนองเป็นรูปร่างหนาตาภายนอก เป็นโครงสร้างบอกถึงขอบเขตของความสูงต่ำของเสียง การฮัมเพลง การผิวปาก การร้องเพลงเป็นการนำแนวทางทำนองมาใช้ ทำนองจะให้อารมณ์ชัดเจนกว่าจังหวะ ให้ความรู้สึกลึกลงถึงจิตใจมากกว่าส่วนของจังหวะ ขณะเดียวกันทำนองก็มีจังหวะรวมอยู่ด้วย
4. ฟังเนื้อร้อง (Text) ผู้ฟังจำนวนมากมุ่งฟังดนตรีเพื่อให้รู้เรื่องราวของเพลง เนื้อร้อง สามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ฟัง บางครั้งดูเหมือนว่าเนื้อร้องเป็นหัวใจของเพลงด้วยซ้ำไป
5. ฟังการเรียบเรียงเสียงประสาน (Harmony) การเรียบเรียงเสียงประสาน คือการนำเอาเสียงมาจัดระบบ เอาเสียงมาซ้อนกันตามกฎเกณฑ์ของแต่ละยุคแต่ละสมัยที่นิยมกัน เสียงประสานจะเป็นตัวช่วยอุ้มเสียงดนตรีให้มีพลังทางอารมณ์ ช่วยเกื้อหนุนความงามของบทเพลง
6. ฟังสีสันแห่งเสียง (Tone Color) สีสันแห่งเสียงแห่งดนตรีเป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุและรูปแบบของเครื่องดนตรี ทั้งที่เกิดเสียงโดย การดีด สี ตี เป่า หรือการกระทบแบบต่าง ๆ ทำให้เสียงดนตรีมีความแตกต่างกัน
7. ฟังรูปแบบของเพลง (Form) รูปแบบหรือโครงสร้างของเพลง เป็นการฟังดนตรีอย่างภาพรวม เรียนรู้โครงสร้างของบทเพลงว่าเป็นเพลงที่มี 1 ท่อน 2 ท่อน 3 ท่อน หรือ 4 ท่อน รูปแบบของบทเพลงแต่ละบทเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเพลงนั้น ๆ
8. การฟังอย่างวิเคราะห์ (Analysis) การฟังอย่างวิเคราะห์ เป็นการฟังเพื่อหารายละเอียดของผลงานชนิดนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร เป็นการฟังโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฟังเพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นผลงานของใคร สมัยใด ใช้เครื่องดนตรีอะไรบรรเลง แต่งรูปแบบใด การประสานเป็นอย่างไร
9. ฟังเพื่อสุนทรียะ (Aesthetic) การฟังดนตรีเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งเป็นประโยชน์ของชีวิต เป็นการฟังที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ เพราะการฟังประเภทนี้ผู้ฟังจะเลือกเพลงให้เหมาะสมกับตนเอง ผู้ฟังอาจจะมีความพอใจอยู่ในระดับใดระดับหนึ่ง มีความสุขที่จะเลือกฟังในสิ่งที่ตนชอบ โดยอาศัยความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีอยู่ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองให้มากที่สุด

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550

สุนทรียศาสตร์


1. สุนทรีศาสตร์หมายถึงวิชาที่ว่าด้วยความงามซึ่งครอบคลุมถึงความงามในธรรมชาติและความงามในผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นงานศิลปกรรม ตลอดจนความงามของกระบวนการสร้างผลงานนั้นด้วย
2. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ศึกษาสุนทรียศาสตร์มีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความงามเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้มนุษย์เกิดความรู้สึกพึงพอใจในด้านบวกเสมอ จึงมีประโยชน์หลายประการดังนี้
2.1 ส่งเสริมกระบวนการคิด การตัดสินความงามอย่างสมเหตุสมผล
2.2 ช่วยกล่อมเกลาให้เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน มองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผล
2.3 เสริมสร้างประสบการณ์สุนทรียะให้กว้างขวางเพื่อการดำรงอยู่อย่างสันติสุข
2.4 ส่งเสริมแนวทางในการแสวงหาความสุขจากความงามของสิ่งต่างๆทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
2.5 ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของสรรพสิ่งและการบูรณา การเพื่อการประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุผล และความรู้สึกที่สอดคล้องกัน

3. สุนทรียศาสตร์มีประโยชน์อย่างไรต่อวิชาชีพพยาบาล
- ช่วยให้ปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างอ่อนโยน
- นำศาสตร์นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันในขณะปฏิบัติงาน
- ช่วยให้เราดูแลตัวเองได้อย่างมีศิลปะ เพื่อจรรโลงจิตใจแก่ผู้ป่วย
- ช่วยในการพัฒนาหน่วยงานให้มีสภาพน่าอยู่และมีเอกลักษณ์แบบสุนทรียศาสตร์

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2550